ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

FACTORS AFFECTING EDUCATION OF UNIVERSITY STUDENTS IN KHON KAEN PROVINCE

  • จริยา ปันทวังกูร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Abstract

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับผลกระทบต่อการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาผลกระทบต่อการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตจังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลภาครัฐ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลภาคเอกชน จำนวน 10 คน มาใช้หาข้อมูลในการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น และการพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเขียนเป็นรายงานตามวัตถุประสงค์ ประกอบการอภิปรายผล


           ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับผลกระทบต่อการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่นตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ได้แก่ ด้านสังคม อยู่ในระดับปานกลาง 1) ด้านคมนาคมอยู่ในระดับปาน และด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ 2. ค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่นโดยรวมทุกด้าน ด้านภาพลักษณ์มหาวิทยาลัย(X3) ด้านบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม(X4) และด้านประชาสัมพันธ์(X1) มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ 0.407, 0.273, 0.134 และ 0.234 ตามลำดับ 3. แนวทางพัฒนาผลกระทบต่อการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยควรมีการวางกลไกในการสัญจรและคมนาคมของนักศึกษาในแต่ละมหาวิทยาลัย ตลอดทั้งการพัฒนาหลักความเข้าใจในการศึกษาระดับอุดมศึกษาต่อสังคม เพื่อความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันของการพัฒนาระบบการศึกษาในทุกขั้นตอนของนักศึกษาอย่างจริงจังของมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิผล

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). แผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ :กระทรวงสาธารสุข.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.

กาญจนา สุระ. (2556). การวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ ปีที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

เจริญ ภูวิจิตร และคณะ. (2564). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : กลุ่มพัฒนามาตรฐานและส่งเสริมเครือข่าย สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

วานิช ประเสริฐพร และไชยวัฒน์ ชุ่มนาเสียว. (2562). การพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนด้านการจัดทำบทเรียนโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านกิจกรรมพัฒนา 9 ขั้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 (ชัยภูมิ). วารสารมนุษยสังคมสาร. 17(2). 77-100.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row Publications.
Published
2022-11-07
How to Cite
ปันทวังกูร, จริยา. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 677-685, nov. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/2160>. Date accessed: 01 dec. 2024.