รูปแบบและกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง

FORMS AND DANCING PROCESS IN THE KWAI LUANG MERIT-MAKING CEREMONY

  • หนึ่งฤทัย วงษาหาราช สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • สุขสันติ แวงวรรณ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • จินตนา สายทองคำ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มารูปแบบและองค์ประกอบในงานบุญบวชควายหลวงและเพื่อวิเคราะห์รูปแบบกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวงบ้านแมดอำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้ปฏิบัติหน้าที่ในพิธีกรรมบวชควายหลวง ผู้ที่เป็นปราชญ์ท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านฟ้อนอีสาน ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีอีสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์


            ผลการวิจัยพบว่า งานบุญบวชควายหลวงเป็นงานประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณและนิยมจัดขึ้นในช่วงบุญเดือนหกของทุกปีซึ่งเกิดจากชาวบ้านมีความเชื่อว่าการจัดงานถวายแก่เจ้าพ่อโฮงแดงจะทำให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุขในการทำพิธีนั้นมีผู้ประกอบพิธีฟ้อนถวาย จำนวน              2 คน ศัพท์ชาวบ้านเรียกว่า“ควายหลวงใหญ่”มีหน้าที่หลักในงานและควายหลวงน้อยเป็นเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นควายหลวงใหญ่ในอนาคตกรณีเมื่อควายหลวงใหญ่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือว่าเสียชีวิตจะเป็นควายหลวงน้อยขึ้นมาแทนและรูปแบบกระบวนฟ้อนพบว่ากระบวนการฟ้อนของควายหลวงมีลักษณะเลียนแบบอากัปกิริยาของสัตว์ (ควาย) ซึ่งเรียกว่า “ท่าหากินหญ้า”โดยควายหลวงใหญ่มีท่าเฉพาะที่แตกต่างจากควายหลวงน้อยทั้งหมด 8 ท่า เนื่องจากควายหลวงใหญ่เป็นผู้ฟ้อนหลักของงานบุญบวชควายหลวงจึงทำให้มีท่าฟ้อนและขั้นตอน ในการประกอบพิธีมากกว่าควายหลวงน้อยและเป็นการถ่ายทอดกระบวนการฟ้อนมาจากบรรพบุรุษตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันผู้วิจัยจึงได้วิเคราะห์ข้อมูลและเก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญเป็นลายลักษณ์อักษรให้เกิดข้อมูลเชิงประจักษ์และเพื่อประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจได้ศึกษาต่อไป

References

กฤษณา กุลทรัพย์ศักดิ์. (2540). ประเพณีบวชควายฮ้า ของชาวอีสาน. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กีรติ เปาริสาร. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบและโครงสร้างท่ารำในพิธีกรรมปัญโจลมะม็วดในเขตอีสานใต้. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

บัญชา อุตสาหรัมย์. (2553). การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องบุญบั้งไฟในประเพณีอีสานเชิงปรัชญาในวัฒนธรรมไทย. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

พิริยะดิศ มานิตย์. (2560). ประวัติศาสตร์ความคิดฝรั่งเศส. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมจิตร พ่วงบุตร. (2531). เพลงดนตรีพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านจังหวัดสุรินทร์. กรุงเทพฯ :กรุงสยามการพิมพ์.

สมชาย นิลอาธิ และคณะ. (2559). บทความรับเชิญ ประเพณีบวชควายหลวง ในมิติมานุษยวิทยา. มหาสารคาม : สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สายทิพย์ นุกูลกิจ. (2533). วรรณคดีเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี. กรุงเทพฯ : หจก.การพิมพ์พระนคร.

สุรพล วิรุฬรักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุริยา สมุทคุปติ์ และคณะ. (2533). สัญลักษณ์สำคัญในบุญบั้งไฟ การวิเคราะห์และตีความหมายมานุษวิทยา. ขอนแก่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อำคา แสงงาม. (2537). การเอ้บั้งไฟของชาวสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Published
2023-03-24
How to Cite
วงษาหาราช, หนึ่งฤทัย; แวงวรรณ, สุขสันติ; สายทองคำ, จินตนา. รูปแบบและกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 719-733, mar. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/2171>. Date accessed: 01 dec. 2024.