คุณลักษณะทางความหมายของการซ้อนคำในศิลาจารึกอีสาน

THE SEMANTIC ATTRIBUTES OF LEXICAL REDUPLICATION IN THE NORTHEASTERN THAI INSCRIPTIONS

  • คมสันต์ ดลเอี่ยม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อิศเรศ ดลเพ็ญ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะทางความหมายของการซ้อนคำในศิลาจารึกอีสาน ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้ศึกษาจากหลักฐานโบราณอีสาน คือ ศิลาจารึก และจารึกที่ฐานพระพุทธรูปที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ที่จารึกด้วยอักษรอีสานโบราณ โดยธวัช  ปุณโณทก ได้ปริวรรตและบันทึกไว้ในหนังสือศิลาจารึกอีสานเป็นภาษาไทย จำนวน 76 หลัก โดยใช้แนวคิดทางภาษาศาสตร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล


           ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะทางความหมายของการซ้อนคำในศิลาจารึกอีสาน พบ 2 ลักษณะ คือ 1) ความหมายของคำที่นำมาประกอบใช้ร่วมกัน ประกอบไปด้วย ความหมายเหมือนกัน คล้ายคลึงกัน และความหมายประเภทเดียวกัน 2) ความหมายที่ประกอบใช้ร่วมกันแล้วเกิดเป็นความหมายในมิติใหม่ ประกอบไปด้วย ความหมายระบุเฉพาะ ความหมายโดยรวมที่กล่าวถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และความหมายเชิงอุปลักษณ์

References

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (2526). คำซ้อนในภาษาไทยสมัยสุโขทัย. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 6(1-2). 59-81.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (2526). คำซ้อนในภาษาไทยสมัยอยุธยา. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 7(1). 75-121.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (2530). การสร้างคำในภาษาไทยสมัยสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดุษฎีพร ชำนิโรคศานต์. (2528). การซ้อนคำในกฎหมายตราสามดวง. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย. 2(2). 24-32.

ธวัช ปุณโณทก. (2530). ศิลาจารึกอีสาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บรรจบ พันธุเมธา. (2549). ลักษณะภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล และนภาพร พิมพ์วรเมธากุล. (2545). พจนานุกรมภาษาถิ่นอีสาน. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

เบ็ญจมาศ บางอ้น. (2529). การสร้างคำในสมัยอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เบญจวรรณ ตานนท์. (2542). การศึกษาเปรียบเทียบคำซ้อนภาษาไทยกลางและภาษาอีสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปรีชา พิณทอง. (2532). สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ. อุบลราชธานี : ศิริธรรม.

เพียรศิริ วงศ์วิภานันท์. (2531). คำซ้อนในภาษาไทยตอนที่ 1: ลักษณะพิเศษของคำซ้อน. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย. 5(3). 48-58.

รัชฏาพรรณ เศรษฐวัฒน์. (2516). คำซ้อนในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิชเคชั่นส์.

ราตรี ธันวารชร. (2534). การศึกษาการซ้อนคำในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลินดา วิชาดากุล. (2528). การสร้างคำในภาษาไทยสมัยรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษร ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริวรรณ กาญจนโหติ. (2532). การสร้างคำในศิลาจารึก พ.ศ. 2073 – พ.ศ. 2466. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุปราณี ธีระวัฒนสุข. (2541). วิวัฒนาการคำซ้อนของภาษาไทยสมัยรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวารี เจียนโพธิ์. (2537). คำซ้อนในภาษาถิ่นอีสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Published
2022-09-08
How to Cite
ดลเอี่ยม, คมสันต์; ดลเพ็ญ, อิศเรศ. คุณลักษณะทางความหมายของการซ้อนคำในศิลาจารึกอีสาน. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 139-152, sep. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/2296>. Date accessed: 01 dec. 2024.