สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2

ADMINISTRATORS’ COMPETENCY AFFECTING ACADEMIC ADMINISTRATIVE EFFECTIVENESS OF SCHOOLS UNDER YASOTHON PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

  • ทองดี คณะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ธันยาภรณ์ นวลสิงห์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

Abstract

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 4) เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 28 คน ครู จำนวน 299 คน  รวมทั้งสิ้น 327 คน เครื่องมือในการวิจัยและประมวลผลข้อมูล ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาเท่ากับ 0.98 และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการเท่ากับ 0.97


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านบุคลิกภาพ ด้านการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ตามลำดับ 2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร  เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้  และด้านการวัดผลและประเมินผล 2) ด้านการนิเทศการศึกษา 3) ด้านการพัฒนาหลักสูตร และ 4) ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี ตามลำดับ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงมาก (rxy= .904) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร  เขต 2 มีทั้งหมด 5 ตัวแปร เรียงตามลำดับความความสำคัญ  ดังนี้  ด้านการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ (X7)  ด้านการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (X6) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ (X8)  ด้านการทำงานเป็นทีม (X4) ด้านบุคลิกภาพ (X5) และด้านการพัฒนาตนเอง (X1)  ซึ่งตัวแปรชุดนี้ร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 ได้ร้อยละ 87.6

References

กรมวิชาการ. (2544). ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาหนังสือกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

ธนภัทร วันทาพงษ์. (2559). ปัจจัยสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

ธานินทร์ ศลิป์จารุ.(2551). การววิจัยและวิเคราะห์ขอ้มูลทางสถิตดิ้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปรีชา จันทรมณี. (2556). ตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พระราชบัญญัติการศึกษพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2545). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 11 ตอนที่ 74 หน้า 14.

ศรีนภา ฉิมเฉย. (2558). สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2. (2563) .ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนสังกัด สพป.ยส 2. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2563. จาก http://www.yst2.go.th/web/?page_ id=3677

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.

Smith.et al. (1971). The Clinical Supervision Process. Alexandia, VA : Loganbill, C, Hardy, E & ilworth.
Published
2022-09-19
How to Cite
คณะศรี, ทองดี; นวลสิงห์, ธันยาภรณ์. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 313-325, sep. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/2312>. Date accessed: 01 dec. 2024.