การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนกู่ทองพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

DEVELOPMENT OF THE KUTHONG PITTAYAKHOM SCHOOL'S MANAGEMENT MODEL USING DIGITAL TECHNOLOGY IN THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE

  • ชัดสกร พิกุลทอง โรงเรียนกู่ทองพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารโรงเรียนกู่ทองพิทยาคม 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียนกู่ทองพิทยาคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 52 คน และครู จำนวน 274 คน รวมทั้งหมด 326 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ ตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แบบสอบถามสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นแบบตรวจเช็ครายการ 2) แบบสอบถามปลายเปิด และ 3) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล วิเคราะห์ความสอดคล้องของโมเดลการวัดกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analytic model) ได้แก่ ค่าไคสแควร์, ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ ,ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า) และค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง การวิเคราะห์หาค่าดัชนีสำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNImodified)


           ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารโรงเรียนกู่ทองพิทยาคม ประกอบด้วยโมเดลการวัดองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ มีค่าเท่ากับ 38.745, RMSEA มีค่าเท่ากับ 0.036, AGFI มีค่าเท่ากับ 0.971 และ SRMR มีค่าเท่ากับ 0.013 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินความสอดคล้อง การวิเคราะห์คุณภาพของตัวบ่งชี้ พบว่า มีพิสัยของค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (l) อยู่ระหว่าง 0.777 ถึง 0.829 (ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 0.500) และการวิเคราะห์คุณภาพของโมเดลการวัดในระดับองค์ประกอบแฝง มีค่าเฉลี่ยของความแปรปรวนที่สกัด (Average variance extracted: ρV) มีค่าเท่ากับ 0.6893 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 0.500 และมีค่าความเชื่อมั่นขององค์ประกอบ (Construct reliability: ρc) มีค่าเท่ากับ 0.9567 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 0.600 2) การวิเคราะห์ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNImodified) สภาพปัจจุบันในการบริหารสถานศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลกัสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปทุมรัตน์ สีธูป. (2561). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ. (2552). การนิเทศการศึกษา : ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภูษณทัศ ผลทับทิมธนา และสมบูรณ์ บูรศิริรักษ์. (2563). การบริหารโครงการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วันวดี กู้เมือง. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สมชาย เทพแสง. (2547). E-Leadership : ผู้นำการศึกษาในยุคดิจิตอล. วารสารวิชาการ. 1 (มกราคม-มีนาคม 2547). 55-62.

สมศรี เณรจาที และวัชรี ชูชาติ. (2560). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะพึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา. 14(27). 10-20.

สัจจะพร วิริยะจรรยา. (2559).รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นําทางการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กปีงบประมาณ 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี: การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียน และโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. Journal of Education Naresuan University. 17(4). 216-224.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Greenberg-Walt, C. L., & Robertson, A. G. (2001). The evolving role of executive leadership. The future of leadership : Today’s top leadership thinkers speak to tomorrow’s leaders.

Katz, R.L. ( 1955). Skill of an Effective Administrator. Harvard Business Review. 4(12). 22-42.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement. 30(3). 607-610.

Lunenburg, F. C., & Ornstein, A. C. (2004). Educational administration: Concepts & practices. 4th ed. Belmont, CA : Wadsworth/Thomson.

National Association of Secondary School Principals (NASSP). (2014). 10 Skills for Successful School Leaders. Retrieved 20 January 2020. From https://www. amazon.com/10-Skills-Successful-School leaders/dp/0882103822
Published
2022-10-03
How to Cite
พิกุลทอง, ชัดสกร. การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนกู่ทองพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 475-489, oct. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/2327>. Date accessed: 01 dec. 2024.