การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4

THE STUDY ON SCHOOL ADMINISTRATORS EMOTIONAL QUOTIENT OF THE SCHOOLS UNDER KHON KAEN PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 4

  • อนิรุทธ์ เฉิดแผ้ว มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • อาคม อึ่งพวง มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 และเพื่อเปรียบเทียบระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาและจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างจำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 36 คน และครู จำนวน 280 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 316 คน ได้มาโดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ ได้แก่ การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


           ผลการวิจัยพบว่า 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ ความสามารถในการจูงใจตนเอง การควบคุมอารมณ์ของตนเอง การเข้าใจผู้อื่น การตระหนักรู้ตนเอง และการมีทักษะทางสังคม 2) ผลการเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามขนาดของสถานศึกษาและจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญกับความฉลาดทางอารมณ์และควรหาทางพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของตนเอง เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

References

กนพร โพธิมณี. (2562). การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

กรมสุขภาพจิต. (2543). คู่มือความฉลาดทางอารมณ์. กรุงเทพฯ : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.).

ชาปิยา สิมลา. (2563). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐพล วรรณศรี. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11(3). 78-91.

ปกรณ์ รันตทรัพย์ศิริ. (2564). ความมั่นคงทางอารมณ์ ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคการเสริมสร้างพลังอำนาจและความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนเอกชนสายสามัญใน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสุทธิปริทัศน์. 35(3). 155-173.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2562). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 30(2). 186-201.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. ขอนแก่น : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 –2579. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุภาวดี วุฒิรัตน์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานด้านบุคคลของสถานศึกษา อำเภอไทรน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบรูพา.
Published
2022-10-25
How to Cite
เฉิดแผ้ว, อนิรุทธ์; อึ่งพวง, อาคม. การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 514-525, oct. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/2330>. Date accessed: 01 dec. 2024.