รูปแบบการสำรวจความต้องการของตลาดแรงงานที่มีต่อสาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

THE SURVEYS OF LABOR MARKET DEMAND TOWARDS PROGRAM IN GOVERNMENT OF MAHAMAKUT BUDDHIST UNIVERSITY ROI ET CAMPUS

  • พระครูสมุห์ ศิลาศักดิ์ สุเมโธ (บุญทอง) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต้อยเอ็ด
  • พระมหาไทยน้อย ญาณเมธี (สลางสิงห์) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต้อยเอ็ด
  • วิมลพร สุวรรณแสนทวี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต้อยเอ็ด
  • อิศเรศ จิณฤทธิ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต้อยเอ็ด
  • พระมหาวชิรวิทย์ วชิรญาโณ (ประเสริฐสังข์) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต้อยเอ็ด

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพความต้องการของตลาดแรงงานที่มีต่อสาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด 2) เพื่อสร้างรูปแบบการสำรวจความต้องการของตลาดแรงงานที่มีต่อสาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .89 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพความต้องการของตลาดแรงงานที่มีต่อสาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านการอ่าน การเขียน การพูด ภาษาต่างประเทศ รองลงมา คือ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการสื่อสารและรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศ 2. รูปแบบการสำรวจความต้องการของตลาดแรงงานที่มีต่อสาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ประกอบด้วย องค์ประกอบของรูปแบบการสำรวจ มี 5 องค์ประกอบ 25 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย  1) ด้านการอ่าน การเขียน การพูด ภาษาต่างประเทศ 5 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา 5 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านความเข้าใจ ความต่างวัฒนธรรมและความต่างด้านความคิด ทัศนคติ 5 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ 6 ตัวบ่งชี้ 5) ด้านการสื่อสารและรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศ 4 ตัวบ่งชี้

References

กรัณฑ์รัตน์ ประเสริฐธนากล. (2557). ความต้องการของตลาดแรงงานและคุณสมบัติของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

จุรี สายจันเจียม, พระครูปลัด ทองใบ สุปภาโส, อิศเรศ จิณฤทธิ์, อดิศักดิ์ ทุมอนันต์, ศุภสิทธิ์ ลินทมาตย์ (2566). การเสริมสร้างทัศนคติการเรียนรู้ในการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมของนักศึกษาสาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 7(1). 698-706.

บรรจง ลาวะลี. (2565). การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อแนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำเชิงพุทธของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการรัตนบุศย์. 4(3). 195-204.

พระครูปลัด ทองใบ สุปภาโส(ปะพะลา), จุรี สายจันเจียม, อดิศักดิ์ ทุมอนันต์. (2565). การใช้สื่อออนไลน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาการปกครองท้องถิ่นของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 6(2). 188-197.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). การสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

เสาวณี จันทะพงษ์. (2563). COVID-19: Social Distancing และคลื่นอพยพของประชากรจากมิติสังคมวิทยา:พลังไทย “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ”. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2564. จาก https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/ articles/Article_31Mar2020.html

Byrne . (1986). Teaching Oral English. London : Longman.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.
Published
2023-11-20
How to Cite
สุเมโธ (บุญทอง), พระครูสมุห์ ศิลาศักดิ์ et al. รูปแบบการสำรวจความต้องการของตลาดแรงงานที่มีต่อสาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 720-731, nov. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/2347>. Date accessed: 01 dec. 2024.