การประยุกต์ใช้หลักปธาน 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

APPLICATION OF THE 4 PRINCIPLES IN THE WORK OF ROI ET PROVINCIAL PUBLIC HEALTH OFFICE PERSONNEL

  • สุรเดชช ชวะเดช สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
  • ทองงาม สุดสน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรที่ประยุกต์หลักปธาน 4 ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการประยุกต์หลักปธาน 4 ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามเพศอายุ และระดับการศึกษา 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์หลักปธาน 4 ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรและลูกจ้าง ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 177 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า (t-test และF-tests (One-way ANOVA)


           ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการประยุกต์หลักปธาน 4 ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2)  ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า บุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน บุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด มีความคิดเห็นต่อการประยุกต์หลักปธาน 4 ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวม ไม่แตกต่างกัน  และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีอายุและระดับการศึกษาต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกันรายคู่ พบว่าค่าเฉลี่ยบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีอายุ 30-39 ปี มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 3.9161 ในด้านหลักปหานปธาน  และค่าเฉลี่ยบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีอายุ 40-49 ปี ด้านหลักภาวนาปธาน ค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 3.9206 และค่าเฉลี่ยบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีอายุ 30-39 ปี ด้านหลักอนุรักขนาปธาน ค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 3.9097 สูงกว่าอายุอื่นๆ 3) บุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด มีข้อเสนอแนะในการประยุกต์หลักปธาน 4 ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด มีค่าความถี่สูงไปหาต่ำ สามอันดับแรก ดังนี้ ควรมีการร้องเรียนการทุจริตจากบุคลากร, ควรมีความตั้งใจทำงานอย่างสุภาพเรียบร้อย การแต่งกายเหมาะสม พูดจาไพเราะกับบุคลากรทั่วไป และควรให้บุคลากรร่วมการจัดงานประเพณี มีการปลอดเหล้า รักษาศีล 5 อย่างเคร่งครัด

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สุวีริยสาส์น.

พรพิมล พฤกษชาติ. (2557). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการ องค์การบริหารส่วนตำบลนาเลิง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2553). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพฯ : สหธรรมิก.

พิสิฐ เจริญสุข. (2539). เกร็ดความรู้ในนิทานชาดก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

สมศักดิ์ ตระบันพฤกษ์. (2559). การนำหลักธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวัน ของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านในการบริหารจัดการ: ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านมะม่วงทอง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (2565). แผนอัตรากำลัง 3 ปี (พ.ศ. 2565-2567). ร้อยเอ็ด : รัตนกิจ.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2558). คุณลักษณะพิเศษแห่งพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : ธรรมะอินเทรนด์.

สุเมธ แสงนิ่มนวล. (2556). ต้นแบบการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย.วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 11(2). 63-80.

สุรเชษฐ ถาวรกิจ. (2559). ความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการของที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2556). จุดประกายแห่งชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สยาม.
Published
2023-12-20
How to Cite
ชวะเดช, สุรเดชช; สุดสน, ทองงาม. การประยุกต์ใช้หลักปธาน 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 745-757, dec. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/2350>. Date accessed: 01 dec. 2024.