แนวทางการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนด้วยอิทธิบาท 4 ของเทศบาล ตำบลจำปาขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

GUIDELINES FOR DEVELOPMENT ON THE COMMUNITY WELFARE FUND BASED ON FOUR IDDHIPPADA OF CHAMPAKHAN SUB-DISTRICT MUNICIPALITY, SUWANNAPHUM DISTRICT, ROI ET PROVINCE

  • พระครูสุวรรณโชติวัฒน์ สจฺจวโร (วรศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พรพิมล โพธิ์ชัยหล้า มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนด้วย อิทธิบาท 4 ของเทศบาลตำบลจำปาขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทาง การพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนด้วยอิทธิบาท 4 ของเทศบาลตำบลจำปาขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนในเขตเทศบาลตำบลจำปาขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 331 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมติฐาน ได้แก่ t-test, F-test


ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนด้วยอิทธิบาท 4 ของเทศบาลตำบลจำปาขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (วิมังสา) รองลงมา ด้านการมีสุขภาพอนามัยที่ดี (ฉันทะ) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการมีงานทำและการมีรายได้ (วิริยะ)และ 2. ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนด้วยอิทธิบาท 4 ของเทศบาลตำบลจำปาขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 1) ควรจัดกิจกรรมการออกกำลังกาย มีสถานที่ออกกำลังกายหรือลานกีฬาในทุกหมู่บ้าน 2) เพิ่มทุนการศึกษาแก้เด็กเรียนดีแต่ยากจน 3) ส่งเสริมการจัดการความรู้และพัฒนานวัตกรรมสวัสดิการชุมชน 4) ควรมีสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยให้กับชุมชน โดยการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือด้อยโอกาสให้สามารถมีที่อยู่อาศัยและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี 5) ควรสำรวจความต้องการในด้านการจัดสวัสดิการ 6) ควรมีเวรยามประจำหมู่บ้าน ส่งเสริมให้ประชาชนเรียนรู้ และมีประสบการณ์จริงจากการดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคมภายใต้การบริหารจัดการกองทุน สวัสดิการชุมชนที่เข้มแข็ง

References

กองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลจำปาขัน จังหวัดร้อยเอ็ด. (2564). ระเบียบกองทุนสวัสดิการชุมชน. ร้อยเอ็ด : เทศบาลตำบลจำปาขัน.

เนตรชนก พาคำ, เชิดเกียรติ กุลบุตร และพรกมล ระหาญนอก. (2563). แนวทางการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนของเทศบาลตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 15(51). 67-79.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักงาน พระพุทธศาสนา.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2551). พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2562). คู่มือกองทุนสวัสดิการชุมชน. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

อำพร ปิ่นตาแก้ว และธรรมนูญ พ่อค้าทอง. (2558). การจัดการความรู้ของกองทุนสวัสดิการชุมชนในตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 2(1). 86-95.
Published
2023-01-24
How to Cite
สจฺจวโร (วรศาสตร์), พระครูสุวรรณโชติวัฒน์; โพธิ์ชัยหล้า, พรพิมล. แนวทางการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนด้วยอิทธิบาท 4 ของเทศบาล ตำบลจำปาขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 69-77, jan. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/2435>. Date accessed: 28 nov. 2024.