แนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3

GUIDELINES DEVELOPING OF QUALITY OF WORKING LIFE OF TEACHERS IN SCHOOLS UNDER THE ROI ET PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFCE 3

  • เปลุวัฒน์ เกื้อหนองขุ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ชัยยนต์ เพาพาน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 และ 2) พัฒนาแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 เป็นการวิจัยแบบวิธีผสม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3  จำนวน 327 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 6 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงและผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถาม ซึ่งสภาพปัจจุบันมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .983 และสภาพที่พึงประสงค์มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .894 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และ 3) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNImodified


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของคุณภาพชีวิตการทำงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก และลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นของคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 สามารถเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ค่าตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ ความสัมพันธ์ทางสังคมในที่ทำงาน ความก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพ สิ่งแวดล้อมที่ดีมีความปลอดภัยต่อสุขภาพและการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน ตามลำดับ 2) แนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 10 แนวทาง ได้แก่ 1) ความสัมพันธ์ทางสังคมในที่ทำงาน 2 แนวทาง 2) ค่าตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ 2 แนวทาง 3) สิ่งแวดล้อมที่ดีมีความปลอดภัยต่อสุขภาพ 2 แนวทาง 4) ความก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพ 2 แนวทาง และ 5) การพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน 2 แนวทาง ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 พบว่ามีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กมล กฤษวงศ์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรังสิต.

กรรณิการ์ ศรีวารีรัตน์. (2551). โมเดลเชิงสาเหตุของคุณภาพชีวิตครู. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กองสวัสดิการแรงงาน. (2547). คุณภาพชีวตการทำงาน (Quality of Work Life). อนุสารแรงงาน. 11(4). 17–22.

จุฑาพร กบิลพัฒน์. (2554). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2557). เก่ง งาม ดี. กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 3. (2563). แนะนำเขตพื้นที่. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563. จาก http://www.roiet3.go.th/index.php/home

สุมลมาลย์ เตียวโป้. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในองค์การภาครัฐ : กรณีศึกษากระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลัง. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตรัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อรุณรัตน์ บุ่งงาม (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏฉะเชิงเทรา.

อัญชลี วงษ์ขันธ์และคณะ. (2563). การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 “การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Research to Make A CHANGE)”. มหาวิทยาลัยราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. 29 พฤษภาคม 2567. 440-449.

Bruce, W. M., & Blackburn, J. W. (1992). Balancing Job Satisfaction & Performance:
A Guide for Human Recourse Professionals. Westport : Quorum Books.

Cascio, W. F. (1998). Managing human resources: Productivity, quality of work life, profits. New York : McGraw-Hill.

Steers, R.M., & Porter, L.W. (1979). Motivation and work behavior. New York : Mcgraw-Hill.
Published
2023-02-28
How to Cite
เกื้อหนองขุ่น, เปลุวัฒน์; เพาพาน, ชัยยนต์. แนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 375-385, feb. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/2461>. Date accessed: 28 nov. 2024.