การสร้างนวัตกรรมพุทธวิถีการพัฒนาจิตผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21

CREATION OF BUDDHIST INNOVATION FOR MENTAL DEVELOPMENT FOR THE ELDERLY IN THE 21st CENTURY

  • พระครูกิตติวราทร ผศ.ดร. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • จิราภรณ์ ผันสว่าง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูปลัด สุริยะ ชวนปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พรพิมล โพธิ์ชัยหล้า มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • สุเมตร์ เทพโสภา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • อดิศักดิ์ ทุมอนันต์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • ฉัตรชัย ชมชารี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • อมรรัตน์ ผันสว่าง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักธรรมในการสร้างนวัตกรรมพุทธวิถีการพัฒนาจิตผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างนวัตกรรมพุทธวิถีการพัฒนาจิตผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม จำรนวน 300 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)


ผลการวิจัยพบว่า 1) มีการหลักธรรมในการสร้างนวัตถกรรมพุทธวิถีการพัฒนาจิตผู้สูงอายุใช้กระบวนการสร้างนวัตถกรรมละรูปแบบการสร้างนวัตถกรรมพุทธวิถีการพัฒนาจิตผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21 2) ผลการวิเคราะห์การสร้างนวัตถกรรมพุทธวิถีการพัฒนาจิตผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21  ปรากฏดังนี้ การสร้างนวัตกรรมพุทธวิถีการพัฒนาจิตผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดด้านพัฒนาจิตด้วยปัญญา รองลงมา คือ ด้านพัฒนาจิตด้วยศีล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านผลที่ได้จากการพัฒนาจิต ตามลำดับ

References

จิราภรณ์ ผันสว่าง และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางโดยใช้หลักจักรสี่. วารสารบัณฑิตเอเซีย. 9(2). 24-31.

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

เทพินทร์ พัชรานุรักษ์. (2546). การคุกคามสุขภาพคือการคุมคามต่อชีวิต: นิยามสุขภาพในทัศนะของบุคคล.วารสารสังคมศาสตร์. 16 (1). 25-46.

ประภัสสร กิมสุวรรณวงศ์. (2555). การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนา. วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 8(3). 19-42.

พระครูใบฎีกาโสภา กิจจฺสาโร (จันทร์เพ็ง). (2553). การประยุกต์หลักพุทธธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวันของกลุ่มผู้สูงวัยในเขตตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระนำชัย ชยากโร. (2556). แนวทางการพัฒนาตนสู่ความเป็นพระโสดาบัน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชราวรรณ ศรีศิลปะนันทน์. (2550). ตำราการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์นันทกานต์.

ภิรมย์ เจริญผล. (2553). ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2555). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : พงษ์พาณิชย์เจริญผล จำกัด.
Published
2024-06-24
How to Cite
ผศ.ดร., พระครูกิตติวราทร et al. การสร้างนวัตกรรมพุทธวิถีการพัฒนาจิตผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 8, n. 1, p. 513-522, june 2024. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/2476>. Date accessed: 28 nov. 2024.