การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพระอภิธรรมที่เหมาะสมสำหรับประชาชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • พระครูปลัดรังสรรค์ คุณสาโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพี่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพระอภิธรรมที่เหมาะสมสำหรับประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพระอภิธรรมที่เหมาะสมสำหรับประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และระดับชั้นศึกษา ต่างกัน และ3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพระอภิธรรมที่เหมาะสมสำหรับประชาชน ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่เรียนพระอภิธรรม ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 186 คน สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์แบบเจาะลึกสัมภาษณ์ผู้รู้หรือผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 14 รูป ได้แก่ ผู้อำนวยการ อาจารย์ พระอาจารย์ผู้สอนพระอภิธรรม เครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กล้องถ่ายรูป และเทปบันทึกเสียง


          ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพระอภิธรรมที่เหมาะสมสำหรับประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทั้งเจ็ดด้าน ลำดับตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านเนื้อหาและหลักสูต ด้านบุคลากรผู้สอน ด้านการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ และด้านการวัดและการประเมิน ตามลำดับ 2) ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า ประชาชนในภาคตะวันออกเหนือ ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และระดับชั้นศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพระอภิธรรมที่เหมาะสม โดยรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ และ3) ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการติดตามประเมินผลสถานการณ์การจัดการเรียนสอนในปัจจุบัน มากยิ่งขึ้น การกำหนดช่วงเวลาในการจัดการเรียนการสอนควรมีเหมาะสมแก่ผู้เรียน มากกว่าที่เป็นอยู่ และรูปแบบการจัดการเรียนการสอนควรเหมาะสมเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน มากยิ่งขึ้น

Published
2018-08-31
How to Cite
คุณสาโร, พระครูปลัดรังสรรค์. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพระอภิธรรมที่เหมาะสมสำหรับประชาชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 2, n. 2, p. 13-24, aug. 2018. ISSN 2730-2644. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/jbpe/article/view/847>. Date accessed: 01 dec. 2024.
Section
Research Article