การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณแบบเน้นภาระงาน ร่วมกับการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และการใช้กลวิธีการอ่านสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

THE DEVELOPMENT OF BUSINESS ENGLISH CRITICAL READING INSTRUCTIONAL MODEL THROUGH TASK-BASED APPROACH INTEGRATING WITH CRITICAL READING INSTRUCTION TO ENCHANCE CRITICAL READING ABILITY AND STRATEGY USE FOR UNDERGRADUATE STUDENTS

  • นิธิมา สุทะพินธ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วิสาข์ จัติวัตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณแบบเน้นภาระงาน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาก่อนและหลังใช้รูปแบบ 3) เพื่อเปรียบเทียบการใช้กลวิธีการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้รูปแบบ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบ 5) รับรองรูปแบบ


กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบัญชี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารองค์กร (English for Organizational Communication) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ที่ได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. รูปแบบการสอนชื่อ PERS Model มี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน และการวัดและการประเมินผล ซึ่งมีกระบวนการเรียนรู้ 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นทำเตรียมตัวก่อนทำภาระงาน (P) ขั้นฝึกปฏิบัติภาระงาน (E) ขั้นการสะท้อนคิด (R) ขั้นการทำภาระงานเหมือนจริง (S) ผู้เชี่ยวชาญ 5 คนตรวจสอบว่ารูปแบบและเอกสารประกอบการใช้รูปแบบมีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด และประสิทธิภาพของรูปแบบเท่ากับ 83.30/80.17

  2. คะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

  3. การใช้กลวิธีการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  4. กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อรูปแบบในเชิงบวก เนื่องจากความมีประโยชน์ของรูปแบบ

  5. รูปแบบและเอกสารประกอบรูปแบบได้รับการรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก

 The objectives of this research were to; 1) develop and determine the efficiency of Business English Critical Reading Instructional Model Through Task-based Approach Integrating with Critical Reading Instruction to Enhance Critical Reading Ability and Strategy Use for Undergraduate Students 2) compare students’ critical reading ability between before and after learning by using the model 3) compare students’ critical reading strategy use between pre-test and post-test after learning by using the model 4) study the students’ opinions toward the model and 5) verify the model The samples of this research were 30 of 2nd year undergraduate students in accounting major, who enrolled KAEL201 English for Organizational Communication subject in academic year B.E. 2561 at Mahidol University Kanchanaburi Campus, selected by Random Sampling technique.
The research results were as follows: 1) The Business English Critical Reading Instructional Model (PERS Model) consists of 4 components; principles and objectives, learning factors, teaching and learning procedures, and evaluation was named from the 4 steps are Preparation Task (P), Execution Task (E), Reflection Task (R), and Simulation Task (S). The PERS Model was verified by five experts were at a good to very good level and the efficiency of the model is 83.30/80.17, 2) The students’ critical reading ability scores obtained in post-test after learning by using PERS model were significantly higher than pre-test at .05 level of statistic significance and gradually increased, 3) The students’ critical reading strategy use after learning by using PERS model were significantly higher than before using PERS Model at .05 level of statistic significance, 4) The students had positive opinion toward PERS Model because of its useful, 5) The PERS Model was verified by five experts at the high level which is congruent to the theories’ rationality and probability.


 

Published
2020-03-21
How to Cite
สุทะพินธ์, นิธิมา; จัติวัตร์, วิสาข์. การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณแบบเน้นภาระงาน ร่วมกับการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และการใช้กลวิธีการอ่านสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 399-414, mar. 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://705527.funfizzhk.tech/index.php/edj/article/view/405>. Date accessed: 01 dec. 2024.