การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาความคิดเชิงวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
THE DEVELOPMENT OF SCIENTIFIC TEACHING ACTIVITIES MODEL INTEGRATING CONSTRUCTIVISM THEORY WITH QUESTIONING TECHNIQUE IN DEVELOPING SCIENTIFIC THINKING AND SCIENTIFIC MIND OF GRADE 6 STUDENTS.
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาความคิดเชิงวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ที่ผู้วิจัย พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนโรงเรียนบ้านท่าเรือจ้าง (ประชาชนูปถัมภ์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้ผู้เรียนกลุ่มทดลอง 24 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ 4) แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) และสถิติ (t - test)
ผลการวิจัย พบว่า 1. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผู้เชี่ยวชาญในระดับความคิดเห็นมากที่สุด ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) การจัดการเรียนรู้ มี 6 ขั้นตอน คือ 1) กระตุ้นผู้เรียน (Stimulation) 2) พิจารณาสาเหตุ (Consideration) 3) สืบเสาะแสวงหา (Inquiry) 4) สำรวจและตรวจสอบ (Exploration ) 5) บันทึก และอภิปราย (Discussion) และ 6) สรุปและขยายความรู้ (Conclusion) 2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน พบว่าผู้เรียนในกลุ่มทดลอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์ หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีจิตวิทยาศาสตร์ที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ
The purposes of this research were to develop a science learning management model integrating constructivist theory together with the questioning technique to develop scientific thinking and scientific mind the samples were grade 6 students of Bantharuajang School in the second semester of the academic year 2018, and they were randomly selected through multi-stage sampling. The researcher instruments were ,1) lesson plan and the model develop by the researcher 2) learning achievement test 3) Measurement model Scientific thinking 4) Measurement model scientific mind 5) questionnaires concerning the results of the use of the instructional model. The statistics used for data analysis were mean Standard Deviation and t – test.
The findings of this research were as follows : 1. The developed instructional model to scientific teaching activities model integrating constructivism theory with questioning technique in developing scientific thinking and scientific mind of grade 6 students, comprised of four major components : 1) the principle 2) the objectives 3) the learning process and 4) the result of studying from the instruction model. The instruction model possesses the quality according to the principle of quality 2. The result of the implementing the instructional model was that the posttest score or\f the students higher concerning scientific thinking and scientific mind were higher than the pretest at the .05 level of statistical significance. More over, the students in the experimental group had good scientific thinking and scientific mind to learn instruction model.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย